นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต บาคาร่าออนไลน์ ออกคำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ 1797/2563 เรื่อง ปิดสถานที่ที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 สรุปประเด็น ปิดโรงแรม และสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน ทุกประเภท ยกเว้น โรงแรมซึ่งทางราชการใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม
โรงแรมที่มีผู้เข้าพัก-นักท่องเที่ยว ให้พักต่อไปจนกว่าจะแจ้งออกจนหมด แล้วให้ปิดทันที
เจ้าของธุรกิจโรงแรม ที่ยังมีผู้เข้าพัก-นักท่องเที่ยว ต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อผู้เข้าพักให้อำเภอทราบ เพื่อตรวจคัดกรอง ทุกคน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทย ทำให้ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดภูเก็ตพบว่า ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และข้อ 7 (1) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 ผู้ว่าราชการ จ.ภูเก็ต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563 จึงออกคำสั่งไว้ ดังนี้
ปิดโรงแรมที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ทุกประเภท และสถานประกอบการในลักษณะเดียวกัน ยกเว้น โรงแรมซึ่งทางราชการใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม หรือสถานที่พักเพื่อสังเกตอาการ หรือใช้เพื่อประโยชน์อื่นใดในทางราชการ ในการแก้ไขปัญหาตามมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม การแพร่ระบาดจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19
สำหรับโรงแรมที่มีผู้เข้าพักอยู่ก่อนที่คำสั่งนี้มีผลบังคับ ให้พักต่อไปจนกว่าผู้เข้าพักจะแจ้งออกจากห้องพักจนหมดแล้วให้ปิดทันทีโดยไม่ให้มีการรับผู้เข้าพักเพิ่มอีก ทั้งนี้ ให้โรงแรมที่ยังมีนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางเข้าพักอยู่ต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อผู้เข้าพักให้ที่ทำการปกครองอำเภอทราบ
เพื่อตรวจคัดกรองผู้เข้าพักทุกคน หากผู้เข้าพักคนใดมีอาการเข้าขายที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จะต้องถูกส่งไปแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตอาการ ยังถานที่ที่จังหวัดกำหนด
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฉบับนี้ จะมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1)
แจง ยังไม่มีเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง
กระทรวงมหาดไทย ร่างจดหมายด่วนถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ขอให้เตรียมความพร้อมหากรัฐบาลมีการยกระดับการปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ด่วน – ฟังให้ชัด! ศบค. ยืนยันยังไม่ “เคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง” – เผยแพร่เฟคนิวส์ระวังโทษ
กระทรวงมหาดไทย ขอให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมในการดำเนินการ ในกรณีศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยกระดับการปฏิบัติการ ดังนี้
1. จัดเตรียมพื้นที่รองรับการกักกันตัวของจังหวัด (Local Quarantine) ให้มีความพร้อมโดยสามารถพิจารณาใช้พื้นที่ของภาคเอกชนได้ ทั้งในส่วนที่จัดทำเป็นสถานที่กักกันตัว โรงพยาบาลสนาม คลังเก็บอาหาร เครื่องดื่ม จัดรับบริจาค จุดประชาสัมพันธ์ให้ข่าว รวมทั้งกำหนดผู้ให้ข่าวที่ชัดเจน หากจังหวัดใดมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้รีบรายงานกระทรวงมหาดไทยเพื่อจะได้ดำเนินการขยายวงเงินต่อไป
2. ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน และทุกภาคส่วนถึงความจำเป็นในการปฏิบัติการเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้ประชาชนอยู่ในที่พำนัก ไม่เคลื่อนย้าย/เดินทาง อีกทั้งมอบหมายภารกิจหน้าที่แก่ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องที่ ถึงภารกิจและแนวทางการปฏิบัติงาน ตลอดจนกำหนดแผนเผชิญเหตุและซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติให้มีความเข้าใจร่วมกัน
3. วางมาตรการควบคุมการกักตุนสินค้า โดยเชิญประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หากพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
4. วางแผนจัดระบบการขนส่งสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค สิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน มีการกำหนดจุดบริการอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อดูแลประชาชนถึงระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ชัดเจนและกำหนดอยู่ในแผนปฏิบัติการ
5. ให้จังหวัดรายงานการปฏิบัติให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย ทราบภายในเวลา 18.00 น. ทุกวัน เพื่อจะได้รายงานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อไป บาคาร่าออนไลน์